เมนู

แล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไป
เป็นธรรมดา ดูก่อนชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ
เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ
โมหะ เป็นต้นนี้.

ฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ 5 ประการ


[60] ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้
นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ ผู้นั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 1 นี้. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้
เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประ
การที่ 2
นี้. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 3 นี้. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่า
ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ
ประการที่ 4 นี้. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็น
อกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 5
นี้. ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ 5 ประการนี้.
[61] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอัน

ไม่มีโทษหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีบในที่มืด ด้วยคิด
ว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-
ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น
ไป ดังนี้แล.
จบชีวกสูตรที่ 5

5. อรรถกถาชีวกสูตร
ชีวกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น พระบาลีนี้ว่า ตสฺส ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส
อมฺพวเน ที่ชื่อว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่ (มีชีวิตอยู่). ที่ชื่อว่า โกมารภัจจ์
เพราะอันพระราชกุมารชุบเลี้ยงไว้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระกุมาร (หมายถึง
อภัยราชกุมาร) ตรัสถามว่า นั่นอะไร พนาย ฝูงกาจึงเกลื่อนกลาด.
พวกราชบุรุษทูลว่า ทารก พระเจ้าค่ะ. ตรัสถามว่า ยังเป็นอยู่หรือ พนาย.
ทูลตอบว่า ยังเป็นอยู่พระเจ้าค่ะ. จึงตรัสสั่งให้นำทารกเข้าวัง มอบให้แม่นม
เลี้ยงดู. คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อทารกนั้นว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่และตั้งสร้อย

ชื่อว่า โกมารภัจจ์ เพราะพระราชกุมารให้ชุบเลี้ยงไว้ ในพระสูตรนี้มีความสัง-
เขปดังกล่าวมานี้ ส่วนเรื่องโดยพิสดารมาในชีวกวัตถุขันธกวินัย แม้คำวินิจฉัย
เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์นั้นท่านก็กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันต-
ปาสาทิกา
. หรือชีวกโกมารภัจจ์ผู้นี้ ถวายพระโอสถระบายอ่อนๆ ระบายพระ-
กายที่มากไปด้วยโทษของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เวลา
จบอนุโมทนา ถวายผ้าคู่ที่ได้มาจากแคว้นสีพี. ดำริว่า เราต้องไปเฝ้าอุปัฏฐาก
พระพุทธองค์ วันละ 2- 3 ครั้ง พระเวฬุวันนี้ ก็อยู่ใกล้เกินไป สวนมะม่วง
ของเรายังใกล้กว่า อย่าเลย เราจะสร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสวน
มะม่วงของเรานี้แหละ ดังนั้น จึงให้สร้างที่เร้น กุฎี และมณฑปเป็นต้น สำ-
หรับพักกลางคืน และพักกลางวัน สร้างพระคันธกุฎี ที่เหมาะแก่ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ในสวนอัมพวันนั้น สร้างกำแพงสีใบไม้แดงสูง 18 ศอก ล้อมสวน
อัมพวันไว้ อังคาสเลี้ยงภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหาร
พร้อมจีวรแล้วหลั่งทักษิโณทก มอบถวายวิหาร ท่านหมายเอาสวนอัมพวันนั้น
จึงกล่าวว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ดังนี้.
คำว่า อารภนฺติ แปลว่า ฆ่า. คำว่า อุทฺทิสฺส กตํ แปลว่า กระทำ
เจาะจง. คำว่า ปฏิจฺจ กมฺมํ แปลว่า กระทำเจาะจงตน. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า
ปฏิจฺจ กมฺมํ นี้เป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่อาศัยตนเป็นเหตุกระทำมี
อยู่ในเนื้อนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า กรรมมีอยู่เพราะอาศัยเนื้อ. ลัทธิ
(ความเชื่อถือ) ของคนเหล่านั้นมีอยู่ว่า ผู้ใดบริโภคเนื้อเช่นนั้น (อุทิศมังสะ)
ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วย ปาณฆาตกรรม จึงมีแม้แก่คนนั้น
เหมือนกับฆ่าเอง. คำว่า ธมฺมสฺส อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ ความว่า
ย่อมกล่าวเหตุตามเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำนั้น การบริโภคเนื้อ

โดยส่วน 3 ชื่อว่า เหตุ การพยากรณ์อย่างนั้นของมหาชนชื่อว่า ตามเหตุ. แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เสวยเนื้อที่เขาทำเจาะจง (อุทิศมังสะ) เพราะฉะนั้น
ข้อนั้นไม่ชื่อว่าเหตุ. การกระทำอย่างนั้นของพวกเดียรถีย์ก็ไม่ชื่อว่า ตามเหตุ.
คำว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท ความว่า การกล่าวหรือการกล่าวตาม
ของพวกท่านมีเหตุ โดยเหตุที่คนอื่น ๆ กล่าวแล้ว เป็นเหตุที่ผู้รู้ทั้งหลายพึง
ติเตียนวาทะอะไร ๆ เล็กน้อย จะมาถึงหรือหนอ ท่านอธิบายว่า เหตุที่จะพึง
ติเตียนในวาทะของพวกท่านย่อมไม่มีโดยอาการทั้งหมดหรือ. คำว่า อพฺภา-
จิกฺขนฺติ
แปลว่า กล่าวข่ม (ตู่). คำว่า ฐาเนหิ คือ โดยเหตุทั้งหลาย.
บรรดาส่วนทั้ง 3 มีส่วนที่เห็นแล้วเป็นต้น เห็นเขาฆ่าเนื้อและปลา
แล้วเอามา (ทำอาหาร) ถวายภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ส่วนที่เห็นแล้ว. ได้ยิน
มาว่า ชื่อว่า ส่วนที่สงสัยมี 3 อย่าง คือส่วนที่สงสัยว่า ได้เห็นมา ส่วนที่
สงสัยว่า ได้ยินมา ส่วนที่สงสัยอันนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. ในส่วนที่สงสัย
ทั้ง 3 นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ เห็นคนทั้งหลายถือตาข่าย และเห
เป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มี
เนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมา
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ. นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น รับอาหารที่
สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหาร
นั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ
ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรา มิได้ทำเพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ
เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.

ภิกษุทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย แต่ได้ยินมาว่า เขาว่าคนทั้งหลาย
ถือตาข่ายและแหเป็นต้น ออกจากบ้านไป หรือเที่ยวไปในป่า รุ่งขึ้น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้น ก็นำบิณฑบาตที่มีเนื้อปลา
มาถวายภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยโดยการได้ยินนั้นว่า เขาทำเพื่อประโยชน์ แก่
ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ. นี้ชื่อว่า สงสัยโดยได้ยินมา. รับอาหารนั้น ไม่ควร.
อาหารใด มิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แต่ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า
ท่านเจ้าข้า เหตุไร พระคุณเจ้า จึงไม่รับ ฟังคำตอบของภิกษุเหล่านั้นแล้ว
ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย
ดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวก
ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.
อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่งบิณฑบาตที่มีเนื้อปลา นำไปถวาย
ภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ นี้ชื่อว่า
สงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัย
อย่างนั้นรับอาหารนั้นก็ควร. แล้วถ้าคนเหล่านั้น ถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไร
พระคุณเจ้าจึงไม่รับ ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหาร
นี้ พวกเรามิได้ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก เราทำเพื่อประโยชน์
แก่ตนเอง หรือ เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก หรือว่า พวกเรา
ได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขามีอยู่แล้ว) เป็นของกัปปิยะ (ควร) ทั้งนั้น จึงตก
แต่งเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย รับอาหารนั้นก็ควร. ในอาหารที่เขาทำเพื่อ
ประโยชน์เป็นเปตกิจ (อุทิศ) สำหรับคนที่ตายไปแล้ว หรือเพื่อประโยชน์แก่
การมงคลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แท้จริงอาหารใด ๆ เขามิได้กระทำเพื่อ

ประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายก็มิได้เคลือบแคลง สงสัยใน
อาหารอันใด รับอาหารนั้นทุกอย่างก็ควร. แต่ถ้าอาหารเขาทำอุทิศภิกษุทั้งหลาย
ในวัดหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ไม่รู้ว่าเขาทำเพื่อประโยชน์แก่ตน ภิกษุเหล่าอื่นรู้
ภิกษุเหล่าใดรู้ อาหารนั้นก็ไม่ควรแก่ภิกษุเหล่านั้น ควรแก่ภิกษุนอกจากนี้
ภิกษุเหล่าอื่นไม่รู้ ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้นที่รู้ อาหารนั้นก็ไม่ควรแก่ภิกษุเหล่า
นั้น ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น แม้ภิกษุเหล่านั้นรู้ว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่พวก
เรา แม้ภิกษุเหล่าอื่นก็รู้ว่าเขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น อาหารนั้นก็
ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหมด ภิกษุทั้งหมดไม่รู้ ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหมดนั่นแหละ.
บรรดาสหธรรมิก 5 รูป อาหารที่เขาทำอุทิศแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิกหมดทุกรูป ก็ถ้าบางคนฆ่าสัตว์เจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง
แล้วบรรจุบาตรเต็มด้วยเนื้อสัตว์นั้นถวาย แม้ภิกษุนั้นก็รู้อยู่ว่า เขาทำเพื่อประ-
โยชน์แก่ตน ครั้นรับแล้ว ก็ถวายแก่ภิกษุรูปอื่น ภิกษุนั้นก็ฉันด้วยความเชื่อ
ถือภิกษุนั้น. ถามว่า ใครเป็นอาบัติ. ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติทั้งสองรูป เพราะ
ว่า อาหารใด เขาทำเจาะจงแก่เธอ เธอก็ไม่เป็นอาบัติเพราะเธอไม่ฉันอาหาร
นั้น อีกรูปหนึ่ง (ฉัน ) ก็ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่รู้ ในการรับกัปปิยมังสะ (เนื้อ
ที่สมควรแก่สมณะ) ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่
ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจ คือ การแสดงอาบัติ. ส่วนภิกษุไม่รู้ว่า เป็นอกัปปิยมังสะ
มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ ภิกษุรู้ว่า เป็นอุทิศมังสะแล้วฉันเป็น
อาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ แล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น เพราะ
ฉะนั้นภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว ค่อยรับมังสะ
หรือเธอรับด้วยคิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน. ถามว่าเพราะ
อะไร. ตอบว่า เพราะเป็นของที่ได้ยาก จริงอยู่ เนื้อหมีก็เหมือนๆ กับเนื้อ

หมู แม้เนื้อเสือเหลืองเป็นต้น ก็คล้ายกับเนื้อมฤค เพราะฉะนั้น พระ-
อาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า ถามแล้วค่อยรับจึงควร. คำว่าไม่เห็น คือไม่
เห็นเนื้อที่เขาฆ่าแล้วเอามาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. คำว่า ไม่ได้ยิน คือ
ไม่ได้ยินว่า เขาฆ่าแล้ว เอามาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. คำว่า ไม่สงสัย
คือไม่สงสัย ด้วยอำนาจสงสัยว่าเห็นมาเป็นต้น. คำว่า ปริโภคนฺติ วทามิ
ความว่า มังสะที่บริสุทธิ์ด้วยเหตุ 3 ประการนี้ ชื่อว่าบริสุทธิ์ โดยส่วน 3 จริง
อยู่ การฉันมังสะที่บริสุทธิ์โดยส่วน 3 นั้น ก็เช่นเดียวกับฉันกับข้าวและผักดอง
ที่เกิดเองในป่า ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ฉันมังสะเช่นนั้นย่อมไม่มีโทษ เพราะ
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ก็มังสะนั้นควรฉันได้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ไม่มีโทษในการ
ฉันมังสะเช่นนั้น จึงตรัสว่า อิธ ชีวก ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น ถึง
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงกำหนดแล้วตรัสว่า. ภิกฺขุ ก็จริง ที่แท้พึงทราบ
ว่า ทรงหมายถึง พระองค์นั่นแลจึงตรัสอย่างนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายถึงพระองค์เท่านั้นใน 3 อาคตสถาน คือในมหาวัจฉโคตตสูตร ใน
จังกีสูตร และในสูตรนี้. ในอนังคณสูตร หนหลังที่ว่า ปณีเตน ปิณฺฑ-
ปาเตน
ท่านหมายเอาว่า บิณฑบาตที่มีค่ามากทุกชนิด ชื่อว่าบิณฑบาตอัน
ประณีต แต่ในสูตรนี้. หมายเอามังสะที่สุก. คำว่า อคธิโต คือ ไม่ตะกราม
ด้วยความอยาก. คำว่า อมุจฺฉิโต คือ ไม่หมกมุ่นด้วยการหมกมุ่นด้วยความ
อยาก. คำว่า อนชฺฌาปนฺโน คือ ไม่ถูกความอยากครอบงำ อธิบายว่า
ไม่เป็นดังกาที่ต้องการขะม้ำทั้งหมดกลืนลงคอ ด้วยการจิกทีเดียวเท่านั้น. คำว่า
อาทีนวทสฺสาวี คือ เห็นโทษโดยนัยเป็นต้นว่า อาหารนี้กักอุ่นอยู่ที่พื้นท้อง
คืนหนึ่ง แล้วก็ออกไปทางปากแผล. (ทวาร) ทั้ง 9. คำว่า นิสฺสรณปญฺโญ

ปริภุญฺชติ คือกำหนดด้วยปัญญาว่า การบริโภคอาหารก็เพื่อประโยชน์อันนี้
แล้วบริโภค. คำว่า อตฺตพฺยาพาธาย วา เจเตติ คือ คิดเพื่อทำทุกข์
แก่ตน. คำว่า สุตํ เม ตํ คือ เรื่องนั้นเราได้ยินมา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า แต่ก่อน เรื่องนั้น เราเพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น. คำว่า สเจ โข
เต ชีวก อิทํ สนฺธาย ภาสิตํ
ความว่า ดูก่อนชีวก ห้าวมหาพรหมละ
พยาบาทเป็นต้น ด้วยวิกขัมภนปหาน ละด้วยอำนาจการข่มไว้ ด้วยเหตุนั้น
ท้าวมหาพรหมนั้น จึงชื่อว่า อยู่ด้วยเมตตา ถ้าท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ด้วย
สมุจเฉทปหานละอย่างเด็ดขาดของเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็อนุมัติคำนี้ของท่าน
หมอชีวกก็รับ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพรรณนาเทศนาให้ยิ่ง
ขึ้นไป แม้ด้วยอำนาจพรหมวิหารที่เหลือแก่หมอชีวกนั้น จึงตรัสว่า อิธ ชีวก
ภิกฺขุ
ดังนี้เป็นต้น คำนอกนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
อรรถว่า โย โข ชีวก นี้เป็นอนุสนธิที่แยกแสดงต่างหาก จริง
อยู่ ในฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดประตู ทรงแสดงความเอ็นดูสัตว์
ก็ถ้าคนทั้งหลายถวายบิณฑบาตมีรสอย่างยิ่ง แก่ภิกษุไร ๆ นั้น อย่างนี้แล้ว
กลับได้สวรรค์ถึงแสนกัปไซร้ เขาก็จะพึงทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ทำ
ผู้อื่นให้ตายแล้ว ถวายบิณฑบาตมีรสได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงปฏิเสธความข้อนั้น จึงตรัสว่า โย โข ชีวก ตถาคตํ ดังนี้เป็นต้น.
ในคำนั้น คำว่า อิมินา ปฐเมน ฐาเนน ได้แก่ด้วยเหตุที่หนึ่ง ซึ่งเป็น
เพียงคำสั่งเท่านั้น อันนี้ก่อน. คำว่า คลปฺปเวฐเกน ได้แก่สัตว์ที่ถูกเชือก
ผูกคอลากมาหรือสัตว์ที่มีคอถูกผูกลากมา. คำว่า อารภิยมาโน ได้แก่ถูกเขา
ทำให้ตาย. คำว่า อกปฺปิเยน อสฺสาเทติ ความว่า คนที่ให้ภิกษุฉันเนื้อ
หมีด้วยสำคัญว่า เนื้อหมู ฉันเนื้อเสือเหลืองด้วยสำคัญว่าเนื้อมฤค ก็พูด

เสียดสีว่า ท่านยังชื่อว่าสมณะหรือ ท่านฉันอกัปปิยมังสะ. ส่วนคนเหล่าใดรู้
ว่า เนื้อหมีเหมือนเนื้อหมู เนื้อเสือเหลืองเหมือนเนื้อมฤค ในยามอาหารหา
ยาก หรือใช้เยียวยาความเจ็บไข้ได้ก็พูดว่า นี้เนื้อหมู นี้เนื้อมฤค ให้ภิกษุ
ฉันด้วยอัธยาศัยเกื้อกูล พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงหมายถึงคนเหล่านั้น
ตรัสคำนี้ เพราะคนเหล่านั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก บุคคลผู้นี้กล่าวว่า พระ-
เจ้าข้า ข้าพระบาทนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรม ทั้งพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ชื่อว่าเป็นอริยสาวกผู้ประสบผล ผู้รู้คำสั่งสอนเป็นผู้เห็นสัจจะ
แล้ว ส่วนหมอชีวกหยั่งซึ้งพระธรรมเทศนานี้ เกิดความเลื่อมใส กระทำการ
ชมเชย (สดุดี) ธรรมกถา จึงกล่าวอย่างนี้. คำนอกนี้ในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้น.
จบอรรถกถาชีวกสูตรที่ 5

6. อุปาลิวาทสูตร


ว่าด้วยอุปาลิคฤหบดี


[62] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้
เมือง นาลันทา สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ ณ เมืองนาลันทาพร้อม
ด้วยบริษัทนิครนถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล นิครนถ์ชื่อว่าทีฆตปัสสี เที่ยว
บิณฑบาตไปในเมืองนาลันทา เวลาภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงปาวาริกัมพวัน ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ ว่า
ดูก่อนทีฆตปัสสี อาสนะมีอยู่ถ้าท่านประสงค์ก็จงนั่งเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.

กรรม 3 ของนิครนถ์นาฏบุตร


[63] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะทีฆตปัสสีนิครนถ์
ว่า ดูก่อนทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ใน
การเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทูลว่า ท่านพระ-
โคดม นิครนถ์นาฏบุตร จะบัญญัติว่ากรรม ๆ ดังนี้ เป็นอาจิณหามิได้ ท่าน
พระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า ทัณฑะ ๆ ดังนี้แล เป็นอาจิณ.
พ. ดูก่อนทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฎบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการ
ทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร.